• รู้จักเรา
    • ข่าว และ กิจกรรม
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • คณะวิทยากร
    • ติดต่อเรา
    • การใช้งานเว็บไซต์
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมครู
    • หลักสูตรอบรมนักเรียน
  • คอร์สออนไลน์
  • Digital Content
    • Podcast
    • รายการ EdCA All
    • บทความ
    • micro:bit project
  • ตะกร้าสินค้า
รายละเอียดเพิ่มเติม
(66) 65 656 6897
admin@EdCAinstitute.com
EdCA Institute
  • รู้จักเรา
    • ข่าว และ กิจกรรม
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • คณะวิทยากร
    • ติดต่อเรา
    • การใช้งานเว็บไซต์
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมครู
    • หลักสูตรอบรมนักเรียน
  • คอร์สออนไลน์
  • Digital Content
    • Podcast
    • รายการ EdCA All
    • บทความ
    • micro:bit project
  • ตะกร้าสินค้า

วิทยาการคำนวณ

  • Home
  • วิทยาการคำนวณ
  • วิทยาการคำนวณ 2563 (โค้ดดิ้ง) คืออะไร?

วิทยาการคำนวณ 2563 (โค้ดดิ้ง) คืออะไร?

  • Posted by EdCA Instutute
  • หมวดหมู่ วิทยาการคำนวณ
  • Date 20 กรกฎาคม 2020
  • Comments 0 comment
  • Tags วิทยาการ คำนวณ, วิทยาการคำนวณ, โค้ดดิ้ง

วิทยาการคำนวณ หรือ โค้ดดิ้ง ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมเท่านั้น แต่เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลให้เด็กรู้เท่าทันข่าวสาร และ สามารถใช้แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ซึ่งเป็นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ให้คอมพิวเตอร์และมนุษย์เข้าใจร่วมกันได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สามารถเรียนแบบ Unplugged และ กิจกรรมที่ใช้สื่อที่ทำขึ้นเองได้


หลักสูตรการจัดการสอนยอดนิยม

ตัวอย่างหลักสูตรอบรมออนไลน์ครู การจัดการสอนวิทยาการคำนวณ ได้เกียรติบัตร ระดับประถม-มัธยม ที่ครอบคลุมมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๔๔๑

  • หลักสูตรอบรม วิทยาการคำนวณ ออนไลน์ ระดับประถมศึกษา
    • เรียนโค้ดดิ้งจากอุปกรณ์ที่ทำขึ้นได้เอง
    • เรียนโค้ดดิ้งแบบ Unplugged และ Plug in
  • หลักสูตรอบรม วิทยาการคำนวณ ออนไลน์ มัธยมศึกษา
    • เรียนโค้ดดิ้งจากกิจกรรมและสื่อที่น่าสนใจ ฟรี อุปกรณ์ BitGadget ส่งถึง
    • เรียนโค้ดดิ้งจากบอร์ด Micro:bit เพื่อสร้าง Smart City

แนวคิดเชิงคำนวณประกอบด้วย

  • การย่อยปัญหา (Decomposition)
    • การนำระบบที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและการแก้ปัญหา
  • การหารูปแบบ (Pattern recognition)
    • การมองหารูปแบบของปัญหา ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ลักษณะที่มีร่วมกันนี้เรียกว่ารูปแบบ เราจะสามารถอธิบายลักษณะของปัญหาอื่นๆได้มีรูปแบบเดียวกัน
  • การออกแบบขั้นตอนวิธี (Algorithm Design)
    • การพัฒนาวิธีแก้ปัญหา โดยวางแผนให้กระบวนการทำงานตอบสนองในสิ่งที่ต้องการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามต้องการ และ การประมวลผลระบบต่างๆให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การคิดเชิงนามธรรม (Abstract thinking)
    • การมองภาพรวมเพื่อมุ่งความคิดไปที่ข้อมูลสำคัญ และ ตัดส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เพื่อโฟกัสที่รูปแบบที่ช่วยให้เราแก้ปัญหาได้เรียกว่าแบบจำลองหรือโมเดล (Model)

เพื่อกระตุ้นแนวคิดเชิงคำนวณในระดับที่นักเรียนประถมศึกษาเข้าใจได้ จึงได้มีการสร้างคำจำกัดความขึ้นใหม่ดังต่อไปนี้

  • Tinkering (สร้างความชำนาญ) ฝึกทักษะผ่านการเล่น คล้ายเป็นการทดลองสิ่งใหม่ ฝึกความชำนาญด้วยการทำซ้ำ และทดลองทำวิธีการใหม่ๆ ในแต่ละสถานการณ์
  • Collaborating (การทำงานร่วมกัน) ทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้เด็กๆมีส่วนร่วมในกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด
  • Creating (ความคิดสร้างสรรค์) เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดค้นต้นแบบ ออกแบบ คิดค้น หรือ ส้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากกว่าการฟัง สังเกตุ และลงมือทำตาม
  • Debugging (สร้างวิธีแก้ไขจุดบกพร่อง) เรียนรู้แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก
  • Persevering (ความพยาม) เรียนรู้จักความอดทน ด้วยความท้าทายในกิจกรรมที่ซับซ้อนก็ไม่ยอมแพ้ และ พากเพียรในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนั้นๆ

วิทยาการคำนวณ (Coding) จัดอยู่ในรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ส่งผลให้ครูพัฒนาและออกแบบการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และ ตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีเป้าหมายพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดเชิงคำนวณ อย่างเป็นขั้นตอน และสามารถค้นหาข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนนำสารสนเทศมาใช้ในการแก้ปัญหา ให้สอดคล้องกับ หลักสูตรที่เป็นฐานสมรรถนะ (competency-based) ในศตวรรษที่ 21

ทักษะที่ได้ เมื่อเรียนวิทยาการคำนวณ

เพราะเมื่อเข้าสู่ยุคดิยิตอล จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้เด็กๆมีทักษะที่ดีพอจะไปทำงานด้านดิจิทัล เด็กๆจะต้องมีทักษะความรู้ด้านโลกสมัยใหม่ และมีกระบวนการความคิดทางด้านวิทยาการคำนวณ เพราะมีการคาดการณ์ว่าอีก 15 ปีข้างหน้าแรงงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเทคโนโลยีแทนนี่มนุษย์กว่าครึ่งนึงของตลาดแรงงาน เป้าหมายในการพัฒนาเด็กๆ มีดังต่อไปนี้

  1. มีทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และ เป็นระบบ
  2. มีทักษะในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหา
  3. ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
  4. ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อนตนเองและสังคม
  5. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ

 

 

Tag:วิทยาการ คำนวณ, วิทยาการคำนวณ, โค้ดดิ้ง

EdCA Instutute

Previous post

โค้ดดิ้งสนุกๆ “Code Kids with Pizza” ทำพิซซ่าก็ได้วิชา Coding (6 ขวบขึ้นไป)
20 กรกฎาคม 2020

Next post

เปิดตัวสถาบัน EdCA พัฒนาหลักสูตรโค้ดดิ้ง โดย อักษร เอ็ดดูเคชั่น ร่วมกับ ม.ขอนแก่น
11 กันยายน 2020

Leave A Reply ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เรื่องล่าสุด

  • ภาพบรรยากาศโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กทม
  • เปิดตัวสถาบัน EdCA พัฒนาหลักสูตรโค้ดดิ้ง โดย อักษร เอ็ดดูเคชั่น ร่วมกับ ม.ขอนแก่น
  • วิทยาการคำนวณ 2563 (โค้ดดิ้ง) คืออะไร?
  • โค้ดดิ้งสนุกๆ “Code Kids with Pizza” ทำพิซซ่าก็ได้วิชา Coding (6 ขวบขึ้นไป)
  • วิธีใช้งานคูปองทดลองเรียนฟรี

ความเห็นล่าสุด

    Powered by EdCA Institute. 2021 คู่มือใช้งานระบบ

    เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการให้แก่ท่าน โดยเราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านเข้าเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประกาศการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลการใช้คุกกี้ยอมรับ